Last updated: 2 ก.พ. 2561 | 41569 จำนวนผู้เข้าชม |
นั่นก็ไฮกลอส นี่ก็ไฮกลอส ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไฮกลอสในตลาดนั้นมีมากมายตามวัสดุที่นำมาใช้และวิธีการผลิตชิ้นงานครับ ในบทความที่แล้วเราเน้นที่การทำสีโดยอธิบายประเภทสีพ่นไฮกลอสที่ผู้ใช้ทุกคนต้องรู้ แต่ในบทความนี้เราจะมองภาพตลาดที่กว้างขึ้นอีกนิดให้เห็นวิธีการอื่นๆและวัสดุที่นิยมนำมาผลิตแผ่น(Panel)ของเฟอร์นิเจอร์
ยอดนิยม?
คำว่า”ยอดนิยม”นั้นหมายความว่าเป็นที่นิยมโดยทั่วไป และเนื่องจากกำลังซื้อของผู้ใช้ที่มีแตกต่างกัน วัสดุในการทำแผ่นกระดานไฮกลอสก็จำเป็นต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีและความต้องการนั้นๆ ในตลาดจึงมีทั้งของราคาสูงที่มีจุดเด่นด้านความประณีตหรือความแข็งแรง ถึงของที่เพียงแค่โชว์ว่ามีความเงางามบนพื้นผิวเท่านั้น
หลายคนอาจเกิดคำถามว่าของถูกคุณภาพแย่นั้นทำไมเป็นที่นิยมได้ล่ะ? ลองคิดตามแบบนี้ครับ ถ้าคุณต้องการเพดานไฮกลอสสูงจากพื้นเกือบสิบเมตร คุณก็คงเลือกใช้แผ่นอะคริลิคบางๆน้ำหนักเบาราคาไม่แพง มากกว่าแผ่นMDFหนาๆ สวยเรียบขอบเนียน แต่ราคาสูงลิ่วและหนักมากๆอย่างแน่นอนใช่ไหมครับ? ฉะนั้นความเหมาะสมของงานมากกว่าที่เป็นตัวทำให้วัสดุต่างๆเป็นที่นิยมแตกต่างกันไป
อะไรบ้างที่มีเยอะในท้องตลาด?
คำถามก็คือแล้วในการทำเฟอร์นิเจอร์ไฮกลอสนั้น สิ่งที่ผู้ผลิตใช้กันเยอะๆมีอะไรบ้าง? เราสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามวิธีการผลิตครับ
1. วิธีปิดผิว เป็นการนำวัสดุไฮกลอสต่างๆมาปิดลงบนแผ่นไม้ โดยใช้กาวหรือตัวยืดจับเพื่อให้วัสดุนั้นห่อแผ่นไม้ไว้ วิธีนี้ได้เปรียบตรงที่ต้นทุนต่ำ และสามารถใช้เครื่องจักรผลิตออกมาจำนวนมากได้ แต่มักจะเจอปัญหาเดียวกัน
เนื่องจากการปิดผิวต้องทำทีละด้าน แผ่นไฮกลอสที่ออกมาจะมีปัญหาตามขอบเพราะจะมีรอยต่อที่มักจะเผยอหรือลอกเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ หรือขอบจะดูไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน วัสดุไฮกลอสที่นำมาปิดผิวก็เช่น
- พีวีซี เมมเบรน (PVC Vacuum Membrane) เป็นวิธีการนำสุญญากาศมาใช้ในการรีดแผ่นพีวีซีให้เรียบไปกับแผ่นไม้ โดยจะใช้เครื่องจักรในการทำ คุณสามารถดูวิธีการทำได้จาก Clipด้านล่างนี้ครับ
แผ่นไฮกลอสที่ได้มีคุณภาพและอายุการใช้งานขึ้นกับคุณภาพแผ่นพีวีซีและกาวที่ใช้ ความคงทนรอยขีดข่วนมีไม่มาก หากแผ่นพีวีซีฉีกขาดก็มักจะเกิดปัญหาตามมา เช่น การลอก หรือความชื้นเข้าสู่แผ่นไม้ด้านใน เกิดอาการโป่งพอง เป็นต้น
- เมลามีน (Melamine) เป็นชื่อเรียกสำหรับ Low Pressure Laminate ซึงเป็นการนำแผ่นกระดาษชุบเรซิ่นมาวางทับเป็นชั้นแล้วปิดด้านบนด้วยแผ่นเมลามีนก่อนจะนำไปอัดภายใต้แรงดันต่ำ 2000-3500 นิวตันต่อตารางเมตร ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะบางมากและมักจะปิดมาบนแผ่นไม้เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากเมลามีนพร้อมใช้และนิยมปิดบนไม้แปรรูปสำเร็จต่างๆ จึงมีราคาถูกและใช้งานง่าย เพียงนำมาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการและปิดขอบด้วยเอดจ์(Edge) ก็ใช้งานได้แล้วครับ
- ลามีเนต (Laminate) มีชื่อเรียกเต็มๆว่า High Pressure Laminate ถูกค้นพบโดยวิศวกรของบริษัท Formica ซึ่งผลิตลามิเนตออกมาขายเป็นเจ้าแรก จึงมีคนเรียกลามิเนตว่าแผ่นโฟเมก้าอยู่ไม่น้อย
วัสดุที่ใช้จะคล้ายกับเมลามีน คือกระดาษชุบเรซิ่น แต่จะมีจำนวนชั้นมากกว่าเอามาอัดด้วยความดันสูง 7000 นิวตันต่อตารางนิ้ว แผ่นลามิเนตจะเป็นแผ่นแข็งแบนๆ และไม่ได้ปิดมากับแผ่นไม้เหมือนเมลามีน
ลามิเนตมีความแข็งแรงกว่าเมลามีน ทนรอยขีดข่วนได้มากกว่าแต่ก็มีจุดด้อยเดียวกันเรื่องการปิดขอบที่ทำได้ยากและมักเผยอขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ลามีเนตในปัจจุบันมีราคาทั้งต่ำและสูงต่างกันไปขึ้นกับคุณภาพของวัสดุและลวดลาย
อะครีลิค (Acrylic) เป็นการใช้แผ่นอะคริลิคที่มีขนาดบางปิดลงบนแผ่นไม้ต่างๆ ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีชั้นคล้ายๆพลาสติกเคลือบอยู่
เนื่องจากผิวอะคริลิคเป็นสารประเภทโพลิเมอร์(พลาสติก) คุณภาพที่ได้จะมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น อาจจะทนรอยขีดข่วนไม่ดีเท่าการทำสี แต่ก็ดีกว่าการปิดผิวทุกแบบ
2. วิธีทำสี (Coating) เป็นการพ่นเพื่อเคลือบแผ่นไฮกลอสให้เกิดความเงา การพ่นนี้สามารถแบ่งตามประเภทของสี ตามที่เคยอธิบายไปแล้วในบทความนี้ถึงประเภทของสีพ่นไฮกลอสต่างๆว่ามีโพลีเอสเตอร์, โพลียูริเทน และ อครีลิค แล็คเกอร์ แต่ก็จะสรุปคร่าวๆมาให้ด้านล่างครับ
ข้อดีคือแผ่นไฮกลอสที่ได้จะไม่มีปัญหาเรื่องขอบร่อนและค่อนข้างคงทน แต่ราคามักจะสูงกว่าวัสดุอื่นๆ งานที่มีต้นทุนจำกัดจึงไม่นิยมใช้การทำสีนัก
- โพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีความแข็งแรง ทนกรด สารละลายสี น้ำ และ การขูดขีดได้ดีที่สุดในสามประเภท แต่ว่าต้องการช่างความชำนาญสูง ลุกไหม้ได้ง่ายมาก
- โพลียูรีเทน (Polyurethane) ให้ความเงางามดี ป้องกันน้ำได้ดี ความแข็งแรง ทนต่อการขูดขีดและสารเคมีในระดับดี แต่ไม่เท่าโพลีเอสเตอร์ ข้อเสียคือต้องการช่างฝีมือเฉพาะในการพ่น ไม่สามารถทำหน้างานได้
- อะครีลิค แลคเกอร์ (Acrylic Lacquer) มักเรียกกันว่าสีอุตสาหกรรม แห้งเร็ว ราคาถูกและใช้ง่าย มักเรียกกันว่าสีอุตสาหกรรม แห้งเร็ว ราคาถูกและใช้ง่าย ข้อเสียคือความคงทนน้อยที่สุดในบรรดาสีพ่น
เพิ่มเติมเรื่องของขอบ
จะสังเกตเห็นว่าการปิดผิวแบบต่างๆจะมีปัญหาเรื่องขอบที่ไม่เรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ปัญหานี้มีมานานแล้ว และก็มีเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถทำให้การปิดผิวเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยใช้การยิงเลเซอร์ที่ขอบ (Laser Edge)
เท่าที่ทราบ ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้ในประเทศไทย แผ่นไฮกลอสส่วนใหญ่ที่มีเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เหตุที่ไม่มีเป็นที่นิยมนักเพราะต้นทุนในการทำขอบแบบนี้สูง ทำให้จุดเด่นด้านราคาหายไป ลูกค้าเทียบราคาแล้วก็หันไปหาการปิดขอบแบบเก่าที่ถูกกว่าหรือใช้งานทำสีที่ราคาใกล้เคียงกัน แต่ความคงทนสูงกว่า
สำหรับหน้าตาเครื่องและวิธีการดูได้ตามคลิปด้านล่างครับ
สรุป
แผ่นไฮกลอสสำหรับเฟอร์นิเจอร์นั้นแบ่งตามวิธีการผลิตได้ 2 แบบคือการผิดผิว และ การทำสี ในส่วนของการปิดผิวมีหลากหลายวัสดุแต่มีจุดอ่อนร่วมกันที่การปิดขอบที่มีรอยต่อ หากจะลบโดยการใช้เลเซอร์แต่ว่าก็เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น วิธีที่สองคือการทำสีซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแต่ก็ไม่มีเรื่องของขอบเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในส่วนของบริษัทเบสต้า กู้ด โปร นั้น เราเชี่ยวชาญเรื่องการพ่นสีโพลียูริเทน หากคุณสนใจก็สามารถติดต่อเราได้เข้าไปชมผลงานที่ผ่านมาของเราได้ครับ หรือว่าถ้าคุณมีประสบการณ์ที่เคยใช้ไฮกลอสแบบต่างๆก็เข้ามาแชร์เข้ามาคุยกันได้ครับที่ https://www.facebook.com/Bestahighgloss/
10 ต.ค. 2560
20 ก.ค. 2560
20 ก.ค. 2560
20 ก.ค. 2560