Last updated: 2 Feb 2018 | 41568 Views |
นั่นก็ไฮกลอส นี่ก็ไฮกลอส ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไฮกลอสในตลาดนั้นมีมากมายตามวัสดุที่นำมาใช้และวิธีการผลิตชิ้นงานครับ ในบทความที่แล้วเราเน้นที่การทำสีโดยอธิบายประเภทสีพ่นไฮกลอสที่ผู้ใช้ทุกคนต้องรู้ แต่ในบทความนี้เราจะมองภาพตลาดที่กว้างขึ้นอีกนิดให้เห็นวิธีการอื่นๆและวัสดุที่นิยมนำมาผลิตแผ่น(Panel)ของเฟอร์นิเจอร์
ยอดนิยม?
คำว่า”ยอดนิยม”นั้นหมายความว่าเป็นที่นิยมโดยทั่วไป และเนื่องจากกำลังซื้อของผู้ใช้ที่มีแตกต่างกัน วัสดุในการทำแผ่นกระดานไฮกลอสก็จำเป็นต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีและความต้องการนั้นๆ ในตลาดจึงมีทั้งของราคาสูงที่มีจุดเด่นด้านความประณีตหรือความแข็งแรง ถึงของที่เพียงแค่โชว์ว่ามีความเงางามบนพื้นผิวเท่านั้น
หลายคนอาจเกิดคำถามว่าของถูกคุณภาพแย่นั้นทำไมเป็นที่นิยมได้ล่ะ? ลองคิดตามแบบนี้ครับ ถ้าคุณต้องการเพดานไฮกลอสสูงจากพื้นเกือบสิบเมตร คุณก็คงเลือกใช้แผ่นอะคริลิคบางๆน้ำหนักเบาราคาไม่แพง มากกว่าแผ่นMDFหนาๆ สวยเรียบขอบเนียน แต่ราคาสูงลิ่วและหนักมากๆอย่างแน่นอนใช่ไหมครับ? ฉะนั้นความเหมาะสมของงานมากกว่าที่เป็นตัวทำให้วัสดุต่างๆเป็นที่นิยมแตกต่างกันไป
อะไรบ้างที่มีเยอะในท้องตลาด?
คำถามก็คือแล้วในการทำเฟอร์นิเจอร์ไฮกลอสนั้น สิ่งที่ผู้ผลิตใช้กันเยอะๆมีอะไรบ้าง? เราสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามวิธีการผลิตครับ
1. วิธีปิดผิว เป็นการนำวัสดุไฮกลอสต่างๆมาปิดลงบนแผ่นไม้ โดยใช้กาวหรือตัวยืดจับเพื่อให้วัสดุนั้นห่อแผ่นไม้ไว้ วิธีนี้ได้เปรียบตรงที่ต้นทุนต่ำ และสามารถใช้เครื่องจักรผลิตออกมาจำนวนมากได้ ได้มักจเจอปัญหาเดียวกัน เนื่องจากการปิดผิวต้องทำทีละด้าน แผ่นไฮกลอสที่ออกมาจะมีปัญหาตามขอบเพราะจะมีรอยต่อที่มักจะเผยอหรือลอกเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ หรือขอบจะดูไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน วัสดุไฮกลอสที่นำมาปิดผิวก็เช่น
พีวีซี เมมเบรน (PVC Vacuum Membrane) เป็นวิธีการนำสุญญากาศมาใช้ในการรีดแผ่นพีวีซีให้เรียบไปกับแผ่นไม้ โดยจะใช้เครื่องจักรในการทำ คุณสามารถดูวิธีการทำได้จาก Clipด้านล่างนี้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=fCBJ4Q06lTc
แผ่นไฮกลอสที่ได้มีคุณภาพและอายุการใช้งานขึ้นกับคุณภาพแผ่นพีวีซีและกาวที่ใช้ ความคงทนรอยขีดข่วนมีไม่มาก หากแผ่นพีวีซีฉีกขาดก็มักจะเกิดปัญหาตามมา เช่น การลอก หรือความชื้นเข้าสู่แผ่นไม้ด้านใน เกิดอาการโป่งพอง เป็นต้น
เมลามีน (Melamine) เป็นชื่อเรียกสำหรับ Low Pressure Laminate ซึงเป็นการนำแผ่นกระดาษชุบเรซิ่นมาวางทับเป็นชั้นแล้วปิดด้านบนด้วยแผ่นเมลามีนก่อนจะนำไปอัดภายใต้แรงดันต่ำ 2000-3500 นิวตันต่อตารางเมตร ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะบางมากและมักจะปิดมาบนแผ่นไม้เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากเมลามีนพร้อมใช้และนิยมปิดบนไม้แปรรูปสำเร็จต่างๆ จึงมีราคาถูกและใช้งานง่าย เพียงนำมาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการและปิดขอบด้วยเอดจ์(Edge) ก็ใช้งานได้แล้วครับ
ลามีเนต (Laminate) มีชื่อเรียกเต็มๆว่า High Pressure Laminate ถูกค้นพบโดยวิศวกรของบริษัท Formica ซึ่งผลิตลามิเนตออกมาขายเป็นเจ้าแรก จึงมีคนเรียกลามิเนตว่าแผ่นโฟเมก้าอยู่ไม่น้อย
วัสดุที่ใช้จะคล้ายกับเมลามีน คือกระดาษชุบเรซิ่น แต่จะมีจำนวนชั้นมากกว่าเอามาอัดด้วยความดันสูง 7000 นิวตันต่อตารางนิ้ว แผ่นลามิเนตจะเป็นแผ่นแข็งแบนๆ และไม่ได้ปิดมากับแผ่นไม้เหมือนเมลามีน
ลามิเนตมีความแข็งแรงกว่าเมลามีน ทนรอยขีดข่วนได้มากกว่าแต่ก็มีจุดด้อยเดียวกันเรื่องการปิดขอบที่ทำได้ยากและมักเผยอขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ลามีเนตในปัจจุบันมีราคาทั้งต่ำและสูงต่างกันไปขึ้นกับคุณภาพของวัสดุและลวดลาย
อะครีลิค (Acrylic) เป็นการใช้แผ่นอะคริลิคที่มีขนาดบางปิดลงบนแผ่นไม้ต่างๆ ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีชั้นคล้ายๆพลาสติกเคลือบอยู่
เนื่องจากผิวอะคริลิคเป็นสารประเภทโพลิเมอร์(พลาสติก) คุณภาพที่ได้จะมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น อาจจะทนรอยขีดข่วนไม่ดีเท่าการทำสี แต่ก็ดีกว่าการปิดผิวทุกแบบ
2. วิธีทำสี (Coating) เป็นการพ่นเพื่อเคลือบแผ่นไฮกลอสให้เกิดความเงา การพ่นนี้สามารถแบ่งตามประเภทของสี ตามที่เคยอธิบายไปแล้วในบทความนี้ถึงประเภทของสีพ่นไฮกลอสต่างๆว่ามีโพลีเอสเตอร์, โพลียูริเทน และ อครีลิค แล็คเกอร์ แต่ก็จะสรุปคร่าวๆมาให้ด้านล่างครับ
ข้อดีคือแผ่นไฮกลอสที่ได้จะไม่มีปัญหาเรื่องขอบร่อนและค่อนข้างคงทน แต่ราคามักจะสูงกว่าวัสดุอื่นๆ งานที่มีต้นทุนจำกัดจึงไม่นิยมใช้การทำสีนัก
โพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีความแข็งแรง ทนกรด สารละลายสี น้ำ และ การขูดขีดได้ดีที่สุดในสามประเภท แต่ว่าต้องการช่างความชำนาญสูง ลุกไหม้ได้ง่ายมาก
โพลียูรีเทน (Polyurethane) ให้ความเงางามดี ป้องกันน้ำได้ดี ความแข็งแรง ทนต่อการขูดขีดและสารเคมีในระดับดี แต่ไม่เท่าโพลีเอสเตอร์ ข้อเสียคือต้องการช่างฝีมือเฉพาะในการพ่น ไม่สามารถทำหน้างานได้
อะครีลิค แลคเกอร์ (Acrylic Lacquer) มักเรียกกันว่าสีอุตสาหกรรม แห้งเร็ว ราคาถูกและใช้ง่าย มักเรียกกันว่าสีอุตสาหกรรม แห้งเร็ว ราคาถูกและใช้ง่าย ข้อเสียคือความคงทนน้อยที่สุดในบรรดาสีพ่น
เพิ่มเติมเรื่องของขอบ
จะสังเกตเห็นว่าการปิดผิวแบบต่างๆจะมีปัญหาเรื่องขอบที่ไม่เรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ปัญหานี้มีมานานแล้ว และก็มีเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถทำให้การปิดผิวเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยใช้การยิงเลเซอร์ที่ขอบ (Laser Edge)
เท่าที่ทราบ ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้ในประเทศไทย แผ่นไฮกลอสส่วนใหญ่ที่มีเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เหตุที่ไม่มีเป็นที่นิยมนักเพราะต้นทุนในการทำขอบแบบนี้สูง ทำให้จุดเด่นด้านราคาหายไป ลูกค้าเทียบราคาแล้วก็หันไปหาการปิดขอบแบบเก่าที่ถูกกว่าหรือใช้งานทำสีที่ราคาใกล้เคียงกัน แต่ความคงทนสูงกว่า
สำหรับหน้าตาเครื่องและวิธีการดูได้ตามVDOด้านล่างครับ
https://www.youtube.com/watch?v=ookeGanaJmk
สรุป
แผ่นไฮกลอสสำหรับเฟอร์นิเจอร์นั้นแบ่งตามวิธีการผลิตได้ 2 แบบคือการผิดผิว และ การทำสี ในส่วนของการปิดผิวมีหลากหลายวัสดุแต่จีจุดอ่อนร่วมกันที่การปิดขอบที่มีรอยต่อ หากจะลบโดยการใช้เลเซอร์แต่ว่าก็เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น วิธีที่สองคือการทำสีซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแต่ก็ไม่มีเรื่องของขอบเข้ามาเกี่ยวข้
20 Jul 2017
20 Jul 2017
20 Jul 2017
10 Oct 2017